ศาสตราจารย์นายแพทย์ จรัญ มหาทุมะรัตน์
เป็นที่รู้จักในด้าน
“ศัลยแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญด้านการแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ผู้คิดค้นวิจัยวิธีการผ่าตัดรักษาโรคงวงช้างวิธีใหม่ ที่เรียกว่า “ จุฬาเทคนิค ” จนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ”
ผลงานที่ทำ
เป็นผู้ก่อตั้งคณะทำงานแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในปี 2530 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆประมาณ 12 สาขา นับเป็น คณะทำงานที่มีความสมบูรณ์แบบระดับสากลคณะแรกของประเทศไทยและภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ได้ร่วมมือกับ ผศ.นพ.ช่อเพียว เตโชฬาร ประสาทศัลยแพทย์ คิดค้นวิธีการ “ จุฬาเทคนิค ” ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดรักษาโรคงวงช้างวิธีใหม่และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ทำให้ทั่วโลกได้รับรู้เกี่ยวกับพระนาม “ จุฬาลงกรณ์ ” อันเป็นที่มาของชื่อ “ จุฬาเทคนิค ” และมีผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยในวงกว้าง
“ศัลยแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญด้านการแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ผู้คิดค้นวิจัยวิธีการผ่าตัดรักษาโรคงวงช้างวิธีใหม่ ที่เรียกว่า “ จุฬาเทคนิค ” จนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ”
ผลงานที่ทำ
เป็นผู้ก่อตั้งคณะทำงานแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในปี 2530 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆประมาณ 12 สาขา นับเป็น คณะทำงานที่มีความสมบูรณ์แบบระดับสากลคณะแรกของประเทศไทยและภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ได้ร่วมมือกับ ผศ.นพ.ช่อเพียว เตโชฬาร ประสาทศัลยแพทย์ คิดค้นวิธีการ “ จุฬาเทคนิค ” ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดรักษาโรคงวงช้างวิธีใหม่และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ทำให้ทั่วโลกได้รับรู้เกี่ยวกับพระนาม “ จุฬาลงกรณ์ ” อันเป็นที่มาของชื่อ “ จุฬาเทคนิค ” และมีผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยในวงกว้าง